ราชพฤกษ์

05:16 Unknown 0 Comments

ราชพฤกษ์

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ : Golden Shower, Indian Laburnum, Pudding-pipe Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia fistula Linn. 
วงศ์ : CAESALPINIACEAE
ชื่ออื่น : ชัยพฤกษ์, ราชพริก, คูน, ลักเคย, ลักเกลือ, ลมแล้ง





ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกต้นอ่อนมีลักษณะเรียบ สีเทาแกมเขียว ต้นที่มีอายุมากเปลือกแตกสะเก็ดเป็นสี่เหลี่ยม สีน้ำตาล ต้นเล็กแตกกิ่งในระดับล่าง เมื่อต้นใหญ่ลำต้นสูง แตกกิ่งมากบริเวณส่วนยอด ใบประกอบแบบขนนก ประกอบด้วยก้านใบหลัก ยาวประมาณ 20-30 ซม. แต่ละก้านใบหลักประกอบด้วยใบย่อย ออกเป็นคู่เรียงสลับตรงข้าม และเยื้องกันเล็กน้อย ใบย่อยแต่ละก้านมีประมาณ 3-8 คู่ ใบย่อยมีก้านใบยาวประมาณ 5-10 ซม. แต่ละใบมีรูปทรงรี แกม รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลมสอบ มีสีเขียวอ่อน และค่อยๆเข้มขึ้นจนเขียวสด ดอกออกเป็นช่อ แทงออกตามกิ่งก้าน ช่อห้อยลงด้านล่าง ช่อดอกโปร่งยาวสีเหลือง ยาวประมาณ 20-40 ซม. แต่ละก้านดอกประกอบด้วยดอกจำนวนมาก แต่ละดอกมีก้านดอกสั้น ยาว 1-3 ซม. มีใบประดับใต้กลีบดอก กลีบดอกมีสีเหลืองประมาณ 5 กลีบ รูปรีหรือกลม ด้านในประกอบด้วยเกสร เพศผู้ 10 อัน มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รังไข่รูปขอบขนาน มีขน อับเรณูยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ผลมีลักษณะเป็นฝักยาว ทรงกลม ยาวได้มากถึง 60 ซม. ผิวฝักเกลี้ยง ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาล น้ำตาลดำ และดำ ตามอายุของฝัก เมล็ดมีลักษณะแบน รูปกลมรี สีน้ำตาลถึงดำ เรียงเป็นชั้นๆ มีผนังกั้นจำนวนมาก ฝักแก่จะยังติดห้อยที่ต้น และจะร่วงประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม

ประโยชน์
ใบ – ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนัง ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ช่วยระบายท้อง สามารถใช้พอกแก้อาการปวดข้อ หรือแก้ลมตามข้อ รวมทั้งช่วยแก้โรคอัมพาตของกล้ามเนื้อบนใบหน้า หรือนำไปต้มรับประทานแก้เส้นพิการ และโรคเกี่ยวกับสมอง ให้รสเมา
ดอก – ช่วยระบายท้อง แก้ไข้ แก้พรรดึก (ท้องผูก) รวมทั้งโรคกระเพาะอาหาร และแผลเรื้อรัง ให้รสขมเปรี้ยว
ราก – ช่วยในการฆ่าเชื้อคุดทะราด ระบายพิษไข้ แก้กลากหรือเกลื้อน แก้อาการเซื่องซึมหนักบริเวณศีรษะ รวมทั้งช่วยถ่ายสิ่งสกปรกโสโครกออกจากร่างกาย แก้อาการหายใจขัด ทำให้ชุ่มชื่นทรวงอก แก้อาการไข้ ไปจนถึงรักษาโรคหัวใจ ถุงน้ำดี มีฤทธิ์ถ่ายแรงกว่าเนื้อในฝัก สามารถใช้ได้กับเด็กหรือสตรีมีครรภ์ ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ให้รสเมา
แก่น – ช่วยในการขับพยาธิไส้เดือน ให้รสเมา
กระพี้ – ช่วยแก้โรครำมะนาด ให้รสเมา
เนื้อในฝัก – ใช้พอกเพื่อช่วยแก้อาการปวดข้อ แก้ตานขโมย แก้ไขมาลาเรีย แก้บิด ถ่ายพยาธิ หรือผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง รวมทั้งถ่ายเสมะและแก้พรรดึก (ท้องผูก) ไปจนถึงระบายพิษไข้ สามารถใช้ได้ในเด็กและสตรีมีครรภ์ ไปจนถึงเป็นยาระบายที่ไม่ทำให้ปวดมวนหรือไข้ท้อง ให้รสหวานเอียน
เปลือกฝัก – ทำให้แท้งลูก ทำให้อาเจียน และขับรกที่ค้างอยู่ออกมา ให้รสเฝื่อนเมา
เมล็ด – ทำให้อาเจียน ให้รสเฝื่อนเมา
เปลือกต้น – ช่วยแก้อาการท้องร่วง ใช้ฝนผสมกับหญ้าฝรั่น น้ำดอกไม้เทศ และน้ำตาล รับประทานเพื่อให้เกิดลมเบ่ง
เปลือกราก – ช่วยแก้ไข้มาลาเรีย และระบายพิษไข้ ให้รสฝาด

You Might Also Like

0 ความคิดเห็น: